คุณอาจจะเคยได้ยินคำว่า “แนวรับ แนวต้าน” ผ่านหูมาบ้าง แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจว่ามันคืออะไร และจะช่วยให้มือใหม่อย่างคุณสามารถเทรด Forex ในระยะยาวได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบให้กับคุณ
แนวรับ (Support) ถ้าให้เห็นภาพง่าย ๆ คือฐาน ราคาจะไม่ดิ่งลงเกินจุดนี้และเด้งกลับ แต่แนวรับไม่สามารถพยุงราคาได้ตลอดไป ราคาจึงสามารถดิ่งทะลุแนวรับและทำให้แนวรับแตกในที่สุด
แนวรับ เส้น SMA 20
แนวรับเปลี่ยนเป็นแนวต้าน เส้น SMA 20
แนวต้าน (Resistance) ให้คุณนึกถึงเพดาน ราคาจะวิ่งขึ้นไม่เกินจุดนี้และตกลง แต่แนวต้านไม่สามารถยันราคาได้ตลอดไป ราคาจึงสามารถวิ่งทะลุแนวต้านและทำให้แนวต้านแตกในที่สุด
แนวต้าน เส้น SMA 20
แนวต้านเปลี่ยนเป็นแนวรับ เส้น SMA 20
1. หาสัญญาณ Buy หรือ Sell โดยแนวรับใช้หาสัญญาณ Buy ส่วนแนวต้านใช้หาสัญญาณ Sell โดยดูว่าราคาเข้าใกล้แนวรับ แนวต้านมากแค่ไหน คุณควรใช้อินดิเคเตอร์อื่น ๆ ประกอบเพื่อความถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น
2. ช่วยให้เห็นกรอบการวิ่งของราคาชัดเจนขึ้น นิยมลากเส้นแนวรับและแนวต้านพร้อมกัน
1. ใช้เส้น Fibonacci Retracement ในการหาแนวรับ แนวต้านได้อย่างแม่นยำ คุณยังสามารถใช้หาจุดเข้า Buy หรือ Sell และจุดปิด Buy หรือ Sell ได้อีกด้วย
2. ลากเส้น Trendline โดยกำหนดยอดสูงสุด 3 จุดแล้วลากเส้น (แนวต้าน) หรือยอดต่ำสุด 3 จุดแล้วลากเส้น (แนวรับ) ก็ได้
3. ใช้ Moving Average (MA) นิยมใช้เส้น SMA ในการหาแนวรับ แนวต้าน แต่จะแตกต่างจากสองวิธีการก่อนหน้า ตรงที่เส้น SMA เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้แนวรับ แนวต้านอัปเดตอยู่เสมอ ไม่ตายตัวเหมือนสองแบบแรก สำหรับรายละเอียดของ MA คลิกที่นี่
แนวรับ แนวต้านจะช่วยให้คุณสามารถหาจังหวะ Buy หรือ Sell ที่เหมาะสมและยังบอกด้วยว่า ราคาวิ่งอยู่ที่ประมาณไหน ช่วยให้คาดการณ์แนวโน้มได้อีกทางหนึ่ง คุณสามารถฝึกฝนการใช้แนวรับ แนวต้านบนแพลตฟอร์ม MT4 และ MT5 ของเราได้ฟรี เพียงแค่สมัครบัญชี Cent ที่ออกแบบมาเพื่อมือใหม่เช่นคุณ
นี่คือบล็อกอย่างเป็นทางการของ Exness Limited ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเว็บไซต์ Exness.com บล็อกแห่งนี้ใช้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการสื่อสารการตลาด และไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุนหรือผลวิจัยใดๆ เนื้อหาที่นำเสนอเป็นมุมมองทั่วไปของผู้เชี่ยวชาญของเรา โดยมิได้พิจารณาสถานการณ์เฉพาะของผู้อ่านแต่ละคน ไม่ว่าประสบการณ์ด้านการลงทุนหรือสถานะทางการเงิน CFD เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เลเวอเรจ การซื้อขาย CFD มีความเสียงสูง จึงอาจไม่เหมาะกับนักลงทุนทุกคน มูลค่าการลงทุนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ และนักลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมด ไม่ว่าในสถานการณ์ใด บริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบต่อบุคคลหรือหน่วยงานใด หากเกิดการขาดทุนหรือสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเป็นผลจากหรือเกี่ยวข้องกับธุรกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับ CFD